โรคใบไหม้ (Leaf blight) ของต้นครีบปลาวาฬ
ต้นครีบปลาวาฬมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศแอฟริกาใต้ ลักษณะของต้นจะคล้ายกับต้นลิ้นมังกร แต่จะมีลักษณะใบที่ใหญ่กว่าหลายเท่า ลักษณะใบแข็งและมีลาย โดยเป็นไม้ที่มีเหง้าและไหลใต้ดินเช่นเดียวกับต้นลิ้นมังกร นิยมนำมาปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับและไม้ฟอกอากาศ เมื่อปลูกเลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งมักพบปัญหาโรคใบไหม้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรา Lasiodiplodia sp.
▶️ ลักษณะที่สำคัญของเชื้อ : เชื้อรามีการสร้างพิคนิเดียม (pycnidium) ที่มีโครงสร้างยื่นออกมา เรียกว่า ostiole มีช่องเปิดเป็นรูเล็กๆ เพื่อเป็นทางผ่านของโคนิเดียม (conidium) รูปร่างทรงกระบอก ใสไม่มีสี และโคนิดิโอฟอร์ (conidiophore) ให้กำเนิดโคนิเนียม (conidium) ซึ่งระยะอ่อน มีเซลล์เดียว รูปไข่ถึงยาวรี ปลายด้านหนึ่งจะกลมมน อีกด้านมีลักษณะเรียวลงคล้ายกรวย สีใส เมื่อโคนิเนียมแก่จะสร้างผนังกั้น แบ่งเป็นสองเซลล์ รูปร่างรีคล้ายไข่ มีผนังหนา 2 ชั้น
▶️ ลักษณะอาการ : เกิดจุดแผลสีน้ำตาลบนใบ เมื่ออาการรุนแรงแผลจะขยายทำให้ใบใหม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนใหญ่เกิดบริเวณปลายใบหรือขอบใบ บริเวณเนื้อใบที่ไหม้จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณแผลมักพบส่วนของเชื้อราเป็นจุดสีดำขนาดเล็กเกิดกระจายบนเนื้อเยื่อที่แห้งตายและเรียงซ้อนกันเป็นวงคล้ายกับโรคแอนแทรคโนส
🍃🔎 คำแนะนำ :
1. ตัดแต่งใบที่เป็นโรคและนำไปทำลาย เพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุ
2. หากพบต้นเป็นโรคควรแยกออกมาจากต้นปกติ และสามารถเลือกใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชตามที่แนะนำ เช่น
• โพรคลอราซ (prochloraz) 45% EC อัตราส่วน 20 – 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
• อะซ็อกซีสโตรบิน (azoxystrobin) 25% SC อัตราส่วน 5 – 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ20 ลิตร
• โพรคลอราซ (prochloraz) + โพรพิโคนาโซล (propiconazole) 40% + 9% W/V EC อัตราส่วน 20 – 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
เนื้อหาโดย : นางสาวปาริชาติ ผดุงกิจ
ภายโดย : ดร.สรินนา อ่ำรุ่ง
#บริการวิชาการ
#โครงการบริการวิชาการคลินิกโรคพืช
#โรคพืช #โรคพืชบางเขน
#ภาควิชาโรคพืช #คณะเกษตร
#มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์